Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11768
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรครูสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดปัตตานี
Other Titles: Factors Influencing Health Promoting Behaviors of Teachers under the Supervision of the Primary Educational Service Area, Pattani Province
Authors: ประทีปเกาะ, ฐปนรรฆ์
เจะแต, ซารูวา
Faculty of Education (Education)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา
Keywords: สร้างเสริมสุขภาพ
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ และเพื่อวิเคราะห์ความสมนัยระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดปัตตานี ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างบุคลากรครูในพื้นที่ศึกษา จำนวน 302 คน โดยขนาดกลุ่มตัวอย่างได้คำนวณด้วยโปรแกรม G* power และเลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดเลือกตอบและมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสมนัย และวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ โดยวิธีแบบเป็นขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า เพศ อายุ ศาสนา สถานภาพสมรส ตำแหน่งงาน ดัชนีมวลกาย และระยะเวลาที่สอน ไม่มีความสมนัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดปัตตานี การมีโรคประจำตัวมีความสมนัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (χ2 = 3.605, p < .001) ด้านการออกกำลังกาย (χ2 = 17.057, p=.002) ด้านโภชนาการ (χ2 = 23.126, p < .001) และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (χ2 = 9.049, p =.049) และพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ เพศ (β= .573, p < .001) การรับรู้อุปสรรค (β = .129, p = .004) การรับรู้ประโยชน์ (β = .114, p = .012) แอิทธิพลจากสถานการณ์ ( β = .110, p = .015) และโรคประจำตัว (β = -2.122, p = .008) โดยตัวแปรทั้ง 5 สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรครู ได้ร้อยละ 41.70 (Adjusted R2 = .4170)ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ .458 ผลจากการวิจัยสามารถนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนและจัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพแก่บุคลากรครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรครูเพศหญิงควรสนับสนุนให้มีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ รวมถึงสนับสนุนให้บุคลากรครูตระหนักถึงการตรวจสุขภาพประจำปี ทำให้ค้นพบโรคตั้งแต่ระยะแรก ๆ สุขภาพ เพราะการที่ครูมีสุขภาพที่ดีย่อมเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักเรียน This cross-sectional analytical study aimed to investigate factors influencing health promoting behaviors and to analyze the correspondence between personal factors and health promoting behaviors of teachers under the supervision of the primary educational service area, Pattani province. The total sample size of the study was consisted of 302 teachers working in the study areas, in which it was calculated by using G*power. The samples were randomly selected by multi stage random sampling technique. The research instrument was the questionnaires with multiple choices and five-level-rating scales. Data were analyzed using percentages, means, standard deviations, correspondence analysis and multiple regression analysis by stepwise method. The results found that sex, age, religion, position, marital status, body mass index and years of working were not statistically significant association with health promoting behaviors of the teachers in the study area at the significant level of .05. Personal underlying disease was statistically significant association with health promoting behaviors regarding health responsibilities (χ2 = 3.605, p < .001), physical activities (χ2 = 17.057, p = .002), nutrition (χ2 = 23.126, p < .001) and interpersonal relationship (χ2 = 9.049, p= .049). For the factors influencing health promoting behaviors, the results revealed that sex (β = .573, p <.001), perceived barriers (β = .129, p = .004), perceived benefits (β =.114, p = .012) Influence of unrest situations (β = .110, p = .015) and having an underlying disease (β = -2.122, p = .008) were significantly affected on health promoting behaviors of teachers at the significant level of .05. All 5 variables could predict health promoting behaviors of teachers by 41.70 percent (Adjusted R2 = .417) with the standard error of prediction of .458. The results of this study can be useful for planning and setting up a health promoting program for teachers, especially female teachers that should be promoted in improving health promoting behaviors as appropriate for the local contexts. In addition, the teachers should be supported for annual health check up to early detection of a disease and promoted about perceived benefits of health promoting behaviors because healthy teachers can be a role model of students.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11768
Appears in Collections:270 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1436.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.