Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11078
Title: ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดมนุษยนิยมแนวใหม่ในการเสริมสร้างอัตมโนทัศน์และแรงจูงใจต่อเนื่องของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Other Titles: Effects of Neo-Humanism Learning Activities on Enhancing Self-Concept and Continuing Motivation of Grade Seven Students.
Authors: อริยา, คูหา
ไอริสา, พรหมจรรย์
Faculty of Education (Psychology and Counseling)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว
Keywords: การเรียนรู้;การจัดการเรียนการสอน
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบอัตมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดมนุษยนิยมแนวใหม่ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีปกติ 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจต่อเนื่องของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดมนุษยนิยมแนวใหม่ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีปกติ 3) เปรียบเทียบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดมนุษยนิยมแนวใหม่ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีปกติ ในการเสริมสร้างอัตมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เปรียบเทียบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดมนุษยนิยมแนวใหม่ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีปกติ ในการเสริมสร้างแรงจูงใจต่อเนื่องของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Pretest-Posttest Control Group Design) ด้วยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล จังหวัดปัตตานี เข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดมนุษยนิยมแนวใหม่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีปกติ แบบวัดอัตมโนทัศน์ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 และแบบวัดแรงจูงใจต่อเนื่อง ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .72 ดำเนินการทดลองจำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ความแตกต่างอัตมโนทัศน์และแรงจูงใจต่อเนื่องก่อนและหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หาขนาดอิทธิผลของตัวแปรต้นที่ส่งผลต่อตัวแปรตาม (Effect Size) วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น (Gained Score) ของอัตมโนทัศน์และแรงจูงใจต่อเนื่องระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมและวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ (Multivariate Analysis of Variance: MANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดมนุษยนิยมแนวใหม่มีอัตมโนทัศน์ที่สูงขึ้นแตกต่างกับนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดมนุษยนิยมแนวใหม่มีแรงจูงใจต่อเนื่องที่สูงขึ้นแตกต่างกับนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 The purpose this study to 1) compare between Self-Concept of grade seven students before and after receiving to Neo-Humanism learning activities and learning activities methods 2) compare between Continuing Motivation of grade seven students before and after the event to Neo-Humanism learning activities and learning activities methods 3) compare between Neo-Humanism learning activities and learning activities methods on enhancing Self-Concept of grade seven students 4) compare between Neo-Humanism learning activities and learning activities methods on enhancing Continuing Motivation of grade seven students. Using two experimental groups before and after the experimental design (Pretest-Posttest Control Group), the simple under study devised into 2 groups, experimental and a control group of 30 each, the experiment was in the second semester of 2015 Academic year in Dechapattanayanukul School of Pattani Province. The tools used in the experiment were the Learning Activities of Neo-Humanism and learning activities methods, Self-Concept test with Reliability of .87 while Continuing Motivation test was .72. Data were analyzed by using mean, standard deviation and analysis of different Self-Concept and Continuing Motivation as before and after treatment between the experimental group and the control group. Sizing influence of variables that affect the dependent variable (Effect Size) analysis rising (Gained Score) of Self-Concept and Continuing Motivation between the experimental group and the control group. Multivariate Analysis of Variance: MANOVA. The result indicated that after the experiment the students who received the Neo-Humanism learning activities have higher Self-Concept than those who received learning activities methods at the level of significant .01 and the students who received the Neo-Humanism learning activities have higher Continuing motivation difference than those who received learning activities methods at the level significant .01
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(สาขาวิชาจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11078
Appears in Collections:286 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1341.pdf16.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.