Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11068
Title: Population Distribution Patterns in Thailand and Nepal: Application of Factor Analysis.
Other Titles: รูปแบบการแจกแจงของประชากรในประเทศไทยและเนปาล:การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ
Authors: Apiradee, Lim
Binita, Kumari Paudel
Keywords: ประเทศเนปาล;ประชากร
Issue Date: 2015
Publisher: Prince of Songkla University, Pattani Campus
Abstract: Thailand is in the low stationary phase of demographic transition and Nepal is in the late expanding phase of demographic transition. The probability of future population change depends mainly on current age-sex distribution of the population. Therefore, this thesis focuses on application of factor analysis in clustering provinces and districts based on age-sex distribution of population in Thailand and Nepal. The descriptive and comparative analytical strategies were adopted, including application of multivariate statistical method called factor analysis in demographic data. This thesis consists of three parts. The first part of the study aims to apply factor analysis to cluster provinces based on age-sex distribution of population in Thailand. The data table consists of population counts by 5 years age group for each sex and 76 provinces. Data were managed using spline interpolation. Three-factor model was best fitted to data. Three factors were interpreted as pattern of age-sex distribution. This study found three distinct patterns of population distribution in Thailand. Twenty-seven southern and northeastern region provinces, mainly bordering Myanmar, Cambodia or Malaysia, share the classical pattern of population distribution. The majority of central region provinces, and also Phuket from the south share a similar population distribution pattern, which peaked at the young age group. So too, most of the northern region provinces share another pattern that dipped at the young age group. In conclusion, population distribution is not symmetrical across Thailand. The factor model approximated well this variation and clustered the provinces in three patterns. The second part of this study used population data form 2011 census in Nepal. This study clustered the districts in Nepal based on the patterns of age-sex structures by applying factor analysis. The factor analysis was applied to spline smooth single-year age population by sex and district. A three-factor model was best fitted to the data from Nepal. These three common factors were interpreted as three different patterns based on common characteristics of age and sex distribution. The study found that 23, 17 and 5 districts correlated purely to factor 1, 2 and 3, respectively. Thirty districts were found correlated with two or more factors. In conclusion, the age-sex structure varied substantially between the different districts of Nepal in 2011. The variations were explained well by a three-factor model. The third part focuses on inter-census population changes in Nepal. The population data from Nepal census 2001 and 2011 were used for this part. This descriptive study aimed to summarize the variation in inter-census population changes at the district level by age and sex and explore possible componentsof these changes. The districts were grouped based on both absolute number and percentage of inter-census changes and presented in the thematic map. Spline interpolated single year age population plotted separately for positive and negative inter census district by sex. The top three highly increased districts by percentage were Kathmandu (61.23%), Lalitpur (38.59%), Bhaktapur (35.12%) whereas the top three highly decreased districts were Manang (-31.80%), Khotang (-10.84%) and Mustang (-10.21%). The decreasing pattern was found in mountain and hilly districts of Eastern, Central and Western development regions, whereas the increasing pattern was found in all the districts from Terai and almost all the districts of the Mid- and Far-western region of Nepal including three districts in Kathmandu valley. Each new smaller cohort indicated the decreasing fertility in both male and female but the proportion of working age population is increasing. In conclusion, three main inter-census population changes were found. The first is decreasing new cohorts in majority of the districts, the second one is increasing working age population, but absence of young adult male in some districts, and the last one is beginning of an ageing population. In conclusion, the age-sex distribution varied substantially in both Thailand and Nepal. Based on the results obtained from first and second part of the study, the variations were explained well by three-factor models. The method used in this study is straightforward and the novel concept of using factor as a basis for clustering provinces is applicable to the further demographic studies. Inter-census population change also varied between districts in Nepal. Fertility and migration were the main components responsible for such variation. It is believed that the results from this study pertaining to population dynamics would greatly contribute to population programs. การเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากรศาสตร์ของประเทศไทยอยู่ในระยะคงที่ในระดับต่ำ (low stationary phase) และการเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากรศาสตร์ของประเทศเนปาลอยู่ในระยะปลายของการขยายตัว (late expanding phase) ความน่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของประชากรในอนาคตขึ้นอยู่กับอายุและเพศของประชากรในปัจจุบันเป็นหลัก ดังนั้นวิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงปัจจัย (Factor Analysis) ในการจัดกลุ่มประชากรของแต่ละจังหวัดและอำเภอ ที่ขึ้นกับการกระจายของประชากรตามอายุและเพศของประเทศไทยและเนปาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงพรรณนา การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ ซึ่งรวมถึงวิธีการวิเคราะห์หลายปัจจัย เรียกว่า การวิเคราะห์เชิงปัจจัย ที่ประยุกต์ใช้กับข้อมูลประชากรศาสตร์ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ประกอบไปด้วยสามส่วนดังต่อไปนี้ ส่วนแรกของการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงปัจจัยในการจัดกลุ่มประชากรในประเทศไทยในแต่ละจังหวัดตามการกระจายของอายุและเพศ ข้อมูลประกอบไปด้วยจำนวนประชากรในแต่ละกลุ่มอายุโดยแบ่งเป็นกลุ่มอายุละ 5 ปี เพศ และจังหวัด ซึ่งมีทั้งหมด 76 จังหวัด ทั้งนี้จัดการข้อมูลด้วยการประมาณค่าในช่วงด้วยเส้นโค้งประเภท spline ผลจากการวิเคราะห์เชิงปัจจัยสามารถจัดกลุ่มประชากรของประเทศไทยได้สามกลุ่มที่มีรูปแบบที่แตกต่างกัน ทั้งนี้สามารถอธิบายรูปแบบ (pattern) ของประชากรตามการกระจายของอายุและเพศ พบว่าจำนวน 27 จังหวัดทางภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศพม่า กัมพูชา และมาเลเซีย มีรูปแบบการกระจายของประชากรตามมาตรฐาน (classical pattern) ส่วนประชากรในจังหวัดภาคกลางและภูเก็ตส่วนใหญ่มีรูปแบบการกระจายของประชากรที่คล้ายกัน ซึ่งมีจำนวนประชากรสูงสุดในกลุ่มอายุที่เป็นเยาวชน ในทางกลับกันจังหวัดทางภาคเหนือจำนวนประชากรส่วนใหญ่ลดลงในกลุ่มอายุที่เป็นเยาวชน สรุปได้ว่าการกระจายของประชากรในประเทศไทยไม่ได้มีสัดส่วนที่เหมือนกันทั่วประเทศ และการวิเคราะห์เชิงปัจจัยสามารถประมาณความแปรปรวนของประชากรได้อย่างเหมาะสม และสามารถจัดกลุ่มของประชากรในแต่ละจังหวัดได้สามกลุ่ม ส่วนที่สองของการศึกษาใช้ข้อมูลจากการสำมะโนประชากรปี พ.ศ. 2554 ประเทศเนปาล การศึกษานี้เป็นการจัดกลุ่มประชากรในแต่ละอำเภอของประเทศเนปาล ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบโครงสร้างของอายุและเพศด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงปัจจัย เพื่อวิเคราะห์ประชากรอายุรายปี (single-year) ที่ปรับให้เรียบด้วยวิธี spline แยกตามเพศและอำเภอ ผลจากการวิเคราะห์เชิงปัจจัย ตัวแบบที่กลมกลืนกับข้อมูลประชากรในประเทศเนปาลมากที่สุด คือ ตัวแบบที่จัดปัจจัยเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งอธิบายถึงรูปแบบการกระจาย 3 รูปแบบตามลักษณะของการกระจายของประชากรตามอายุและเพศ ทั้งนี้พบว่ากลุ่มอำเภอจำนวน 23, 17 และ 5 อำเภอมีความสัมพันธ์กับปัจจัยเดียวคือปัจจัยที่หนึ่ง สอง และสาม ตามลำดับ และพบว่าจำนวน 30 อำเภอมีความสัมพันธ์กับสองปัจจัยขึ้นไป สรุปได้ว่าโครงสร้างของอายุและเพศในประเทศเนปาลในปี พ.ศ. 2554 มีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละอำเภอที่มีความความแตกต่างกัน และตัวแบบเชิงปัจจัยทั้งสามกลุ่มสามารถอธิบายความแปรปรวนของข้อมูลได้อย่างเหมาะสม ส่วนที่สาม คือ การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงระหว่างปีสำมะโนประชากร (inter-census) ในประเทศเนปาล โดยใช้ข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรประเทศเนปาลปี พ.ศ. 2544 และ 2554 การศึกษาเชิงพรรณนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปความแปรปรวนในการเปลี่ยนแปลงระหว่างปีสำมะโนประชากรในระดับอำเภอ แยกตามกลุ่มอายุและเพศ และสำรวจองค์ประกอบที่เป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ การจัดกลุ่มของประชากรแต่ละอำเภอขึ้นอยู่กับจำนวนและร้อยละของการเปลี่ยนแปลงระหว่างปีสำมะโนประชากร และนำเสนอข้อมูลด้วยแผนที่ ทั้งนี้ประชากรอายุรายปี (single year age population) สร้างกราฟสำหรับการประมาณค่าในช่วงด้วยเส้นโค้งประเภท spline สำหรับอายุรายปีของประชากร แยกตามอำเภอที่มีค่าร้อยละระหว่างปีสำมะโนประชากรที่เป็นค่าลบและบวกของในแต่ละเพศ อำเภอในสามอันดับแรกที่มีร้อยละของประชากรเพิ่มขึ้นสูง คือ กาฐมาณฑุ (Kathmandu) 61.23% ลาลิตเปอร์ (Lalitpur) 38.59% และ บัคตาเปอร์ (Bhaktapur) 35.12% ในขณะที่สามอันดับแรกของอำเภอที่มีประชากรลดลงอย่างรวดเร็ว คือ มานัง (Manang) -31.80% คอตัง (Khotang) -10.84% และ มุสตัง (Mustang) -10.21% รูปแบบที่มีการลดลงของประชากร พบในอำเภอที่อยู่ในเขตภูเขา และเนินเขาในภาคตะวันออก ภาคกลางและเขตพื้นที่การพัฒนาภาคตะวันตก ในขณะที่รูปแบบการเพิ่มขึ้นสามารถพบได้ในทุกอำเภอของพื้นที่เทอราย (Terai) และเกือบทุกอำเภอในภาคกลางและพื้นที่ห่างไกลในภาคตะวันตกของประเทศเนปาล รวมถึงสามอำเภอในหุบเขากาฐมาณฑุ (Kathmandu) ประชากรกลุ่มใหม่ที่มีขนาดเล็กในแต่ละกลุ่ม ชี้ให้เห็นถึงอัตราการเกิดที่ลดลงทั้งในเพศชายและหญิง ในขณะที่สัดส่วนของประชากรในกลุ่มอายุวัยทำงานกลับเพิ่มขึ้น สรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงระหว่างปีสำมะโนประชากรมีสามแบบ แบบที่หนึ่งคือ การลดลงของประชากรกลุ่มใหม่ (new cohort) ในอำเภอส่วนใหญ่ แบบที่สอง คือ การเพิ่มขึ้นของประชากรกลุ่มอายุวัยทำงาน แต่ขาดแคลนเพศชายวัยผู้ใหญ่ (young adult male) ในบางอำเภอ และแบบสุดท้ายคือ การเริ่มมีประชากรวัยชราเพิ่มขึ้น สรุป การกระจายของประชากรตามอายุและเพศมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทั้งในประเทศไทยและประเทศเนปาล จากผลของการศึกษาในส่วนที่หนึ่งและสอง พบว่า ตัวแบบที่จัดปัจจัยเป็นสามกลุ่มที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงปัจจัยสามารถอธิบายความแปรปรวนของข้อมูลได้อย่างเหมาะสม วิธีการที่ใช้ในการศึกษานี้คือ ใช้หลักการและแนวคิดใหม่โดยการใช้วิเคราะห์เชิงปัจจัยเป็นพื้นฐานในการจัดกลุ่มประชากรแต่ละจังหวัด ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาทางด้านประชากรศาสตร์ในโอกาสต่อไป การเปลี่ยนแปลงระหว่างปีสำมะโนประชากรมีความแตกต่างกันในแต่ละอำเภอของประเทศเนปาล อัตราการเกิดและการอพยพย้ายถิ่นเป็นองค์ประกอบหลักที่มีผลต่อความแปรปรวนของประชากร ผลจากการศึกษาครั้งนี้เชื่อได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงประชากร ดังนั้นจึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนด้านประชากรต่อไปได้
Description: Thesis (Ph.D.(Research Methodology))--Prince of Songkla University, 2015
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11069
Appears in Collections:722 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1326.pdf2 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.