Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11031
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกลางเดือน โพชนา-
dc.contributor.authorชุมพร หนูหมื่น-
dc.date.accessioned2017-09-13T09:21:22Z-
dc.date.available2017-09-13T09:21:22Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11031-
dc.descriptionวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการอุตสาหกรรม), 2560th_TH
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและปรับปรุงอัตราผลผลิตด้านแรงงานในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์หมึกอัดบล็อค โดยใช้เทคนิค QC Story ซึ่งเทคนิคนี้นำมาเพื่อค้นหาปัญหา การคัดเลือกหัวข้อ และกำหนดเป้าหมายของงานวิจัย รวมถึงแผนดำเนินการแก้ไขและปรับปรุง การตรวจสอบผลที่ได้รับ กำหนดมาตรการควบคุม และการจัดทำมาตรฐาน จากผลการดำเนินงาน พบว่าสาเหตุที่ทำให้กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์หมึกอัดบล็อคมีอัตราผลผลิตต่ำ มาจากสาเหตุ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ไม่มีพื้นที่วางบล็อคที่อัดเรียงเสร็จแล้ว พนักงานชั่งน้ำหนักไม่ทัน และวัตถุดิบหมึกตัวนิ่ม จากปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว ทำการแก้ไขโดยติดตั้งชุดปรับความเร็วรอบมอเตอร์เกียร์ด้วยอินเวอร์เตอร์ที่สายพานลำเลียง ติดตั้งระบบเติมน้ำหน้าบล็อคอัตโนมัติ และสร้างสายพานลำเลียงเสริมหัวโต๊ะชั่งน้ำหนักให้สามารถปรับความเร็วรอบได้ตามการไหลเร็วหรือช้าของสายการผลิต ซึ่งทำให้สายการผลิตมีความต่อเนื่องยิ่งขึ้น ผลจากการปรับปรุงทำให้กิจกรรมลดลงจากเดิม 11 ขั้นตอน เป็น 9 ขั้นตอนระยะทางการเคลื่อนย้ายลดลงจากเดิม 25.50 เมตร เป็น 17 เมตร เวลามาตรฐานในการผลิตลดลงจากเดิม 57:29 นาที เป็น 42:08 นาทีต่อรอบการผลิต และยังทำให้อัตราผลผลิตด้านแรงงานแยกตามประเภทผลิตภัณฑ์ ได้แก่ผลิตภัณฑ์ BL-ญ/ล จากเดิม 25.25 กิโลกรัม/คน/ชั่วโมง เพิ่มขึ้นเป็น 31.56 กิโลกรัม/คน/ชั่วโมง หรือเพิ่มขึ้น 25.00% ผลิตภัณฑ์ BL-ล/ล จากเดิม 33.14 กิโลกรัม/คน/ชั่วโมง เพิ่มขึ้นเป็น 41.53 กิโลกรัม/คน/ชั่วโมง หรือเพิ่มขึ้น 25.32% และผลิตภัณฑ์ BL-ญ/ญ จากเดิม 40.55 กิโลกรัม/คน/ชั่วโมง เพิ่มขึ้นเป็น 51.09 กิโลกรัม/คน/ชั่วโมง หรือเพิ่มขึ้นเท่ากับ 26.00% เพิ่มขึ้น โดยจำนวนพนักงานลดลงรวม 6 คน (จากพนักงานทั้งหมด 74 คน) และสามารถประหยัดต้นทุนค่าแรงหลังจากลดพนักงานลงได้ ประมาณ 540,000 บาทต่อปี โดยมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนสร้างเครื่องจักรและอุปกรณ์ เป็นจำนวนเงิน 81,000 บาท มีระยะคืนทุนประมาณ 2 เดือนth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์th_TH
dc.subjectการเพิ่มอัตราผลผลิตด้านแรงงานth_TH
dc.titleการเพิ่มอัตราผลผลิตด้านแรงงานในกระบวนการผลิตหมึกอัดบล็อคth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.departmentFaculty of Engineering (Industrial Engineering)-
dc.contributor.departmentคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ-
Appears in Collections:228 Minor Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทคัดย่อ.pdf132.33 kBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.