Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10616
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเรชา, ชูสุวรรณ-
dc.contributor.authorอริสรา, บุญรัตน์-
dc.date.accessioned2017-01-27T04:24:11Z-
dc.date.available2017-01-27T04:24:11Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10616-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ด.(สาขาวิชาการบริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2557th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบ ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย เอกชนในประเทศไทย และหาแนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์องค์ประกอบภาพลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย โดยศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎีและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย และนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) เพื่อหาองค์ประกอบภาพลักษณ์ จากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและบุคลากรที่ดำเนินงานเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย จำนวน 40 แห่ง รวมทั้งสิ้น 345 คน และระยะที่ 2 หาแนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ด้านนวัตกรรมของหลักสูตร 2) ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม 3) ด้านความคุ้มค่าทางวิชาการ 4) ด้านคุณภาพบัณฑิต และ 5)ด้านความเป็นนานาชาติ โดยมี แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทยทั้ง 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านนวัตกรรมของหลักสูตร ต้องมีองค์กรทางวิชาชีพรองรับ และผู้เรียนสามารถนำไปต่อยอด ในระดับที่สูงขึ้นได้ และมหาวิทยาลัยต้องจัดหลักสูตรตามสภาพจริง โดยมีความพร้อมทั้ง ด้านบุคลากรและทรัพยากรต่างๆ และสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลเพื่อเอื้อให้กับผู้เรียนที่ ขาดแคลนทุนทรัพย์สามารถกู้ยืมได้ 2) ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม การจัดการเรียน การสอน การผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพออกสู่สังคม การช่วยเหลือสังคมโดยการสร้างจิตสำนึกสนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาสให้ได้รับความรู้เพื่อไปพัฒนาชุมชนบ้านเกิดต่อไป 3) ด้านความคุ้มค่าทางวิชาการ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ กับบัณฑิต เช่น มีความเชี่ยวชาญพิเศษ มีทักษะ ทางวิชาชีพที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริง พัฒนาศักยภาพของอาจารย์ตามศาสตร์ที่ถนัดเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาผู้เรียนต่อไป 4) ด้านคุณภาพบัณฑิต คุณภาพวิชาการควบคู่กับคุณธรรม -จริยธรรม ส่งเสริมทักษะทางวิชาชีพให้กับบัณฑิตตั้งแต่เรียนอยู่ปี 1 การได้งานทำของบัณฑิต ในสถานประกอบการที่มีชื่อเสียง และความพึงพอใจของสถานประกอบการในการรับบัณฑิตเข้าไปทำงาน และ 5) ด้านความเป็นนานาชาติ การสร้างบรรยากาศความเป็นนานาชาติในมหาวิทยาลัย เน้นสื่อการเรียน – การสอนที่สอดแทรกภาษาต่าง ประเทศในทุกรายวิชา มีหลักสูตรระยะสั้น (Short Course) ที่รองรับนักศึกษาชาวต่าง ชาติและสามารถโอนหน่วยกิตการเรียนได้จริง และ ให้ทุนแลกเปลี่ยนแก่นักศึกษา อาจารย์ เพื่อสร้าง MOU ระหว่างมหาวิทยาลัยในไทยและมหาวิทยาลัยต่างประเทศ The research objectives aimed to analyze the components of the images and the guidelines for developing the images of private universities in Thailand. The research was carried out by two phases. The first phase was to analyze the components of the images through concepts, theories, and interviewing experts about the images of private universities in Thailand. The Exploratory Factor Analysis was employed to find out the components of the images from the total samples of 345 administrators and participants who were tasked with working on the images of 40private universities in Thailand. The second phase was to find out the guidelines for developing the images through the in-depth interview with seven experts. The research revealed that the components of the images consisted of five main parts: 1) the components of curriculum innovation, 2) the components of social responsibility, 3) the components of academic value, 4) the components of graduates’ qualities, and 5) the components of being international. The guidelines for developing the images of those components were as follows : 1) the curriculum innovation had to be approved by professional organizations and promoted learners to further the study. The universities had to provide curriculums under the real condition, as well as having readiness for staff and other resources, and the curriculums had to be accorded with the government policy which facilitated students with shortage of funds to take out a loan,2) the social responsibility was learning management, teaching, producing quality research to the society, assisting the society by creating awareness of supporting student loans to under privileged students to have knowledge for developing their hometown communities, 3) the academic value was to build up value-added qualifications for graduates such as acquiring expertise, having professional skills for starting a career,developing teachers’ potentialities based on their fields for developing their learners, 4) the graduates’ qualities were the academic qualities accompanied with morals and ethics, encouraging students’ professional skills from the first year, being employed by a well-known establishment,and the satisfaction of establishments in recruiting graduates, and 5) being international was to create international atmosphere in the universities, focusing on teaching and learning materials in which a foreign language was integrated into every subject, having a short course curriculum to welcome foreign students and be practically able to transfer credits, and providing a scholarship for either exchange students or teachers to have collaboration in constituting MOU between Thai and foreign universities.th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยเอกชนth_TH
dc.subjectการจัดการเรียนการสอนth_TH
dc.titleแนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeThe Roadmap for Developing Image of Private University in Thailand.th_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.departmentFaculty of Education (Educational Administration)-
dc.contributor.departmentคณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาบริหารการศึกษา-
Appears in Collections:260 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1209.pdf4.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.