Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10614
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิชัย, นภาพงศ์-
dc.contributor.authorพรทิพย์, ปริยวาทิต-
dc.date.accessioned2017-01-27T04:03:10Z-
dc.date.available2017-01-27T04:03:10Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10614-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2557th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียน Augmented Reality Code เรื่องคำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียน Augmented Reality Code เรื่องคำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียน Augmented Reality Code เรื่องคำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ ภาษาจีนพื้นฐานของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียน Augmented Reality Code เรื่องคำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 5) เพื่อรวบรวมความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อ บทเรียน AR Code เรื่องคำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดตานีนรสโมสร สังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 เป็นเครื่องมือหาประสิทธิภาพบทเรียน AR Code เรื่องคำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐาน เรื่องความคงทน ซึ่งมีค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 21.33 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 71.11 ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อบทเรียน AR Code เรื่องคำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดตานีนรสโมสร ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การพัฒนาบทเรียน Augmented Reality Code เรื่องค าศัพท์ภาษาจีนพื้นฐาน สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดตานีนรสโมสร สังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.97/86.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐานที่เรียนด้วย บทเรียน AR Code เรื่องคำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐานระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .00 แสดงว่าการเรียนด้วยบทเรียน AR Code เรื่องค าศัพท์ภาษาจีนพื้นฐาน ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น3) ผลการวิเคราะห์แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียน AR Code เรื่องคำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดตานีนรสโมสร สังกัดเทศบาลเมืองจังหวัดปัตตานี พบว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างจ านวน 30 คนมีความพึงพอใจต่อการเรียนที่เรียนด้วยบทเรียน AR Code ในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐาน อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด4) ผลการศึกษาความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียน Augmented Reality Code เรื่องค าศัพท์ภาษาจีนพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดตานีนรสโมสร สังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐานคิดเป็นร้อยละ 81.00 และค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐานหลังเรียน 2 สัปดาห์ที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐานเท่ากับ 24.30 5) ผู้เรียนมีความคิดเห็นของต่อบทเรียน AR Code เรื่องคำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐาน ด้านสื่อพบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นว่า ชอบ ภาพสวย มีความชัด การ์ตูนสวย เสียงชัดเจน สีสัน สวยงาม น่าอ่าน นักเรียนมีสีหน้ายิ้มแย้ม มีความสุข มีความตื่นเต้น ในส่วนการสังเกตและสัมภาษณ์ แสดงความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้บทเรียน Augmented Reality Code เรื่องค าศัพท์ภาษาจีนพื้นฐาน ในด้านบทเรียนพบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นว่า บทเรียนมีความน่าสนใจ สีสวยงาม การ์ตูนสวย เรียนสนุก ค าศัพท์ง่าย เข้าใจง่าย จ าค าศัพท์ได้ง่ายและรวดเร็วเร็ว แบบทดสอบสนุก นักเรียนสามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจ าวันได้ The purposes of this research were to developed of Augmented Reality Code of basic Chinese vocabularies for grade 3 students, in efficiency 80/80. Tocompare the achievement of students before and after using Augmented Reality Code of basic Chinese vocabulary for grade 3 students. To study satisfied of students with lessons on Augmented Reality Code of basic Chinese vocabulary for grade 3 students. To study durability of Chinese vocabularies learning by using Augmented Reality Code lessons for grade 3 students. To collect opinions of students on the lessons learned about the AR Code basic Chinese vocabularies. The samples used in this research covers 66 students in Tessaban 2 Wattaninarasamosorn school. The instruments were Augmented Reality Code of basic Chinese vocabularies lesson. They included qualitative questions. The durability of Chinese learning vocabularies by using Augmented Reality Code lessons is 21.33 or 71.11 percents. The research findings were as follows: 1) development of Augmented Reality Code of basic Chinese vocabulary Grade 3 students at school efficiency of 80.97 / 86.67 which was higher than 80/80 2) the achievement of learning basic Chinese vocabularies learned by AR Code of Chinese vocabularies before, during and after learning the basics is higher than the previous. The level of statistical significance. 00 shows that the lessons learned with AR Code's basic Chinese vocabularies. It helps students with higher academic achievement. 3) the analysis of the satisfaction of students with lessons on basic Chinese vocabulary AR Code is high.th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectภาษาจีนพื้นฐานth_TH
dc.subjectไทย (จังหวัดชายแดนภาคใต้)th_TH
dc.subjectประถมศึกษาth_TH
dc.subjectการจัดการเรียนการสอนth_TH
dc.titleผลของการใช้บทเรียน Augmented Reality Code เรื่องคำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดตานีนรสโมสรth_TH
dc.title.alternativeEffecting Augmented Reality Code of Chinese Vocabularies Lesson for Grade 3 Students at Tessaban 2 Wattaninarasamosorn School.th_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.departmentFaculty of Education (Educational Technology)-
dc.contributor.departmentคณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา-
Appears in Collections:263 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1207.pdf9.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.